คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA เปิดเผยว่าจากผลสำรวจ ที่จัดทำโดย ETDA อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นกว่าปีก่อน โดยในปี 2556 การใช้อินเทอร์เน็ต ของคนไทยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 32.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 4.6 ชั่วโมงต่อวัน แต่ในปีนี้นั้นค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 50.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือ 7.2 ชั่วโมงต่อวัน พูดอีกนัยหนึ่งก็คือคนไทยใช้เวลา 1 ใน 3 ของวันใน การใช้อินเทอร์เน็ต ส่วนสถิติที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ “กลุ่มเพศที่สาม” มีจำนวนชั่วโมง การใช้อินเทอร์เน็ต สูง โดยมีค่าเฉลี่ย การใช้อินเทอร์เน็ต อยู่ที่ 62.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นอกจากนั้นแล้วจากผลสำรวจยังพบอีกว่า “กลุ่มเพศที่สาม” มี การใช้อินเทอร์เน็ต ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device) มากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งกิจกรรมหลักในการใช้งานก็อาทิเช่น การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ (85.6%) การอ่านข่าวติดตามและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (64.7%) การซื้อขายสินค้าและบริการ (39.1%) ในขณะที่กลุ่มเพศหญิง เล่นเกมส์ออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ 52.6%
การใช้อินเทอร์เน็ต ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่มีวัตถุประสงค์ด้านความบันเทิง และการติดต่อสื่อสาร โดยกิจกรรมหลัก 3 อันดับ ได้แก่ อันดับหนึ่ง ใช้เพื่อการพูดคุยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 78.2% อันดับสอง ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 57.6% และอันดับสาม ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล 56.5% ในขณะที่ การใช้อินเทอร์เน็ต ผ่านคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล โดยมีกิจกรรมหลัก 3 อันดับ ได้แก่ อันดับหนึ่ง ใช้เพื่อรับ-ส่งอีเมล์ 82.6% อันดับสอง ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล และอ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 73.3% และอันดับสาม ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 63.8%
อีกหนึ่งผลสำรวจที่น่าสนใจในครั้งนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ”พฤติกรรม การใช้อินเทอร์เน็ต ที่สุ่มเสี่ยง” และ “พฤติกรรม การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ และพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สุ่มเสี่ยง” เนื่องด้วยเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราดังเช่นอินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นคนทำพฤติกรรม 3 อย่างดังต่อไปนี้ “เช็ค แชร์ โชว์” เช็ค หมายถึง การเช็ค Facebook เพื่อคอยติดตามดูว่าบน news feed ของตนนั้นมีอะไรใหม่ ๆ อัพเดทบ้าง แชร์หมายถึง การแชร์รูปภาพของตัวเองลงบนทั้ง Facebook และ Instagram โดยเปิดให้สถานะเป็นสาธารณะเพื่อดึงดูดให้คนมาสนใจ โดยการแชร์สุดฮิตในขณะนี้ก็คงหนีไม่พ้นการแชร์รูป selfie โชว์หมายถึง การอัพเดทสถานะของตนเองลงบน Facebook เพื่อที่เวลาใครต้องการจะแอดเป็นเพื่อน เขาก็จะเห็นสถานะนั้นโดยทันที
พฤติกรรมทั้งสามที่กล่าวมานั้นเป็นพฤติกรรมฮิตสุด ๆ อยู่ตอนนี้ แต่ก็สุ่มเสี่ยงต่อการโดนมิจฉาชีพจับตามอง ทั้งนี้เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ง่ายต่อการที่มิจฉาชีพจะเฝ้าสังเกตว่าตอนนี้เราทำ อะไร อยู่ที่ไหน กับใครบ้าง ทำให้เราอาจถูกสะกดรอยตามเอาได้ง่าย ๆ
ในส่วนของพฤติกรรมการทำธุระกรรมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ จากผลสำรวจพบว่ามีคนซื้อของผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตพีซี เพียง 38.8% และมีคนทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพียง 29.8% เท่านั้น พฤติกรรมที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงคือ คนซื้อของแพง ชอบจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ส่วนคนซื้อของถูก ชอบโอนเงินผ่านธนาคารมากกว่า ในขณะที่คนชอบโอนเงินมูลค่ามากกว่า 50,000 บาท ทำธุรกรรมผ่านมือถือ โดยเข้าผ่านหน้าเว็บไซต์ของธนาคารมากกว่าการเข้าแอพพลิเคชัน พฤติกรรมเช่นนี้สุ่มเสี่ยงต่อการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้บอกเลขที่บัตรเครดิตหรือเลขที่บัญชีธนาคารผ่านเว็บไซต์ที่ทำเลียนแบบ หรือที่เรียกว่า Phishing ส่วนพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงจากการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เช่น การละเลยไม่ติดตั้งโปรแกรมAnti-virus มีคนตอบว่าไม่ทำ สูงถึง 51.1% ส่วนคนที่เลิกใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่แล้ว ไม่ล้างข้อมูลออกจากเครื่อง มีผู้ตอบ 37.1% และละเลยไม่กำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานเครื่องมีเพียง 25% เท่านั้น
Source: marketeer.